วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557


                                                            วันที่  28  มกราคม  พ.ศ. 2557


                                             วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                   EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101



ความรู้ที่ได้รับ

         สอบกลางภาค


วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่  21  มกราคม  พ.ศ. 2557

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

       EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

พัฒนาการ

  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล
  • สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                                        
 เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเดียวกัน
  • มีพัฒนาการล่าช้าด้านใดด้านหนึ่ง  หรือ ด้านเดียวกัน

ปัจจัยส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก

-  ทางชีวภาพ
-  สิ่งแวดล้อมก่อนคลอด
-  กระบวนการคลอด
-  สิ่งแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

  1. โรคพันธุกรรม  มีพัฒนาการล่าช้า  มีความผิดปกติร่วม เช่น ตาบอด หูหนวก
  2. โรคระบบประสาท  เช่น โรคชัก เกิดมากในเด็กพิเศษ 
  3. การติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในครรภ์แม่ น้ำหนักตัวเล็กตั้งแต่แรกเกิด
  4. ความผิดของเมตาบอลิซึม เป็นโรคปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
  5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด เช่น เกิดก่อนกำหนด
  6. สารเคมี ได้แก่ ตะกั่ว แอลกอฮอล์ นิโคติน
  7. การเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร
แนวทางการวินิจฉัย  ได้แก่ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินพัฒนาการ ประเมินเวชปฏิบัติ

แนวทางการดูแลรักษา
  1.  หาสาเหตุที่ทำให้เกิดการบกพร่องทางพัฒนาการ
  2. ตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  3. รักษาสาเหตุโดยตรง
  4. ส่งเสริมพัฒนาการ
  5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนการดูแลเด็กพิเศษ
  1. ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  2. ตรวจประเมินพัฒนาการ
  3. วินิจฉัยหาสาเหตุ
  4. ให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  5. ติดตามประเมินรักษาเป็นระยะ


วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่  7  มกราคม  พ.ศ. 2557

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

     EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

          สมองพิการ

มี 3 ระยะ  ได้แก่ ก่อน , ระหว่าง , หลัง

มีอาการดังนี้

เกิดความผิดปกติตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป  สังเกตจาการนอนผิดปกติ  แบ่งเป็น 3 กลุ่ม  ดังนี้
  1. กลุ่มแข็งเกร็ง
  2. กลุ่มมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเอง
  3. อาการผสมกัน
การดูแลรักษา

ควรได้รับการดูแลรักษาทั้งหมดทุกด้าน เช่น ทางกายภาพบำบัด กระตุ้นการเรียนรู้ การใช้เครื่องอุปกรณ์พิเศษทางกายภาพบำบัด

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
  1. การตรวจประเมิน
  2. การฝึกกลิ่น
การรักษาด้วยยา
  • ยากลุ่ม Diazepam  ช่วยลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อระดับหนึ่ง มีผลข้างเคียงคือ ง่วงนอน
  • ยากลุ่ม  Botox  นิยมในปัจจุบัน  ฉีดเข้าไปลดอาการเกร็ง แต่ยาออกฤทธิ์ชั่วคราว
การรักษาด้วยการผ่าตัด  แบ่งดังนี้
  • ผ่าลดอาการตึงกล้ามเนื้อ
  • ผ่าตัดย้ายเอ็น
  • ผ่าตัดกระดูก
การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา เช่น เฝือกพยุง

การดูแลรักษา
  1. ช่วยเหลือตัวเอง
  2. กระตุ้นการเรียนรู้
  3. จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย
เด็กแอลดี  ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง ประเภท การอ่านและคำนวณ

เด็กสมาธิสั้น แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. ซนมากกว่าปกติ
  2. ไม่มีสมาธิ
  3. ขุนหันพันแล่น
วิธีรักษา
  • ช่วยเหลือทางบ้าน
  • เลือกกิจกรรมที่เหมาะสม
  • ทำงานบ้าน
  • สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาสม
  • ให้เวลา
  • ช่วยเหลือด้านการเรียน