วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

     EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ( Children With Behavioral and Emotional Disorders )
  1. ควบคุมตัวเองไม่ได้
  2. ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้  แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
2.1 เด็กที่ไดรับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (รุนแรง)
2.2 เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ วิตกกังวล หนีสังคม ก้าวร้าว

การจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้

· สภาพแวดล้อม
· ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบ

· เรียนหนังสือไม่ได้
· มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
· มีความคับข้องใจและเกิดอารมณ์
· มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมชัดว่ามีความรุนแรง

  1. เด็กสมาธิสั้น
  2. เด็กออทิสติก
  3. เด็กสมาธิสั้น เรียกย่อๆว่า ADHD อยู่ไม่นิ่ง
  4. ปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่องทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Disorders(ADD)
ลักษณะของเด็กทีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1. อุจาระ ปัสสาวะรดกางเกง
  2. ติดขวดนม
  3. ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  4. หงอยเหงาเศร้าซึม
  5. เรียกร้องความสนใจ
  6. อารมณ์หวั่นไหวง่าย
  7. ขี้อิจฉาริษยา
  8. ฝันกลาวงวัน
  9. พูดเพ้อเจ้อ
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ Children With Learning Disabilities (LD)Learning Disability

  1.  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  2. มีปัญหาทางการใช้ภาษา
  3. ไม่รวมเด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญา มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
มีลักษณะ  ดังนี้

· มีปัญหาทักษะคณิตศาสตร์
· ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
· เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
· มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
· ซุ่มซ่าม
· รับลูกบอลไม่ได้
· ติดกระดุมไม่ได้
· เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก Autistic หรือ ออทิซึ่ม Autism

  1.  มีความบกพร่องในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และ ความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
  2. เด็กออทิสติกมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
  3. ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
  4.  ทักษะภาษา
  5. ทักษะทางสังคม
  6. ทักษะการเคลื่อนไหว
  7. ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาด

ลักษณะเด็กออทิสติก

· อยู่ในโลกของตัวเอง
· ไม่เข้าไปหาใคร
· ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
· ไม่ยอมพูด
· เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
· ติดวัตถุ
· มีท่าเหมือนคนหูหนวก

เด็กพิการซ้อน Children With Multiple Tlandicaps

· เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่ง
· สูญเสียการได้ยิน
· เด็กปัญญาอ่อน ตาบอด
· หูหนวก

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันที่  19  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

     EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

               เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  หมายถึง  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมประกอบ อวยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากต่อการเคลื่อนไหว  

จำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้
  1. บกพร่องทางร่างกาย
  2. บกพร่องทางสุขภาพ
  • บกพร่องทางร่างกาย 
-  ซีพี เป็นลักษณะอาการพิการทางสมอง
-  กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-  โปลิโอ มีกล้ามเนื้อแขนขาลีบ

  • บกพร่องทางสุขภาพ
-  ลมบ้าหมู
-  ชักช่วงสั้น ๆ
-  ชักรุนแรง
-  ชักเป็นระยะ
-  ไม่รู้สึกตัว
     
             เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

-  มีความผิดปกติทางการออกเสียง
-  มีความผิดปกติทางจังหวะและเวลาการพูด
-  ความผิดปกติด้านเสียง
-  ความผิดปกติเนื่องจากพยาธิสภาพที่สมอง
  • ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
  1. ในยวันทารกเงียบผิดธรรมชาติ
  2. ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
  3. ไม่พูดใน 2 ขวบ
  4. หลัง 3 ขวบ พูดได้แต่ไม่เข้าใจ
  5. ออกเสียงสะกดไม่ได้
  6. หลัง 5 ขวบ พูดได้แต่ออกเสียงไม่สะดวก
  7. ปัญหาการสื่อความหมาย พูดได้ตะกุกตะกัก
  8. ใช้ท่าทางสื่อความหมาย

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันที่  12  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101



ความรู้ที่ได้รับ

               ความหมายทางการแพทย์ /  เด็กพิการผิดปกติบกพร่อง  หมายถึง  เด็กที่มีความผิดปกติ บกพร่องสูญเสียสมรรถภาพ  อาจเกิดความผิดปกติ  ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญาทางจิตใจ
               สรุปได้ว่า  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการช่วยเหลือและสอนปกติ
  • มีความบกพร่องทางร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  บำบััด  ฟื้นฟู
  • จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามลักษณะความต้องการของเด็ก
ประเภทเด็กต้องการพิเศษมี 10 ประเภท

  1. เด็กบกพร่องทางการเห็น
  2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
  4. เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  5. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  6. เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  7. เด็กปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
  8. เด็กออทิสติก
  9. เด็กพิการซ้อน
เด็กเรียนรู้ช้า

สามารถเรียนในชั้นปกติได้ แต่จะเรียนรู้ช้ากว่าเด็กปกติ มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อยระดับ IQ อยู่ที่ 71-90


สาเหตุ

  • ภายนอก 
-  เศรษฐกิจครอบครัว
-  สร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
-  สภาวะทางด้านอารมณ์จองคนในครอบครัว
-  การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
-  วิธีสอนไม่ประสิทธิภาพ

  • ภายใน
-  พัฒนาการล่าช้า
-  การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน

-  พัฒนาการหยุดชะงัก
-  ระดับปัญญาต่ำ
-  เรียนรู้น้อย
-  จำกัดด้านทักษะ
-  พัฒนาการช้า
-  จำกัดการปรัยตวต่อสภาพแวดล้อม
เด็กปัญญาอ่อนมี 4 ประเภท ดังนี้
  1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ ต่ำกว่า 20 - 34
  3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-39
  4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50 - 70
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ เด็กหูตึง เด็กหูหนวก
เด็กบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ เด็กตาบอด เด็กตาบอดไม่สนิท


วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


วันที่  5  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101


ความรู้ที่ได้รับ

เด็กพิเศษ  หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามวัย  ที่มีมากหรือน้อยกว่า

       ประเภทของเด็กพิเศษ

ตามกระทรวงศึกษาธิการมี   9  ประเภท อาจารย์ท่านได้เพิ่มมาอีก  2  ประเภท

       งานที่ทำในคาบเรียน


อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mapping ทดสอบความรู้ก่อนเรียน




     
      งานที่มอบหมาย

1.  นำเสนองานกลุ่ม
2.  หางานวิจัย
3.  บันทึกความรู้ที่ได้รับลงบล็อกทุกสัปดาห์