วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันที่  17  ธันวาคม  พ.ศ. 2556


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

     EAED2209 เวลา 11.30 - 14.00 น กลุ่มเรียน 101

หมายเหตุ


      วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ ดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติมค่ะ


      เด็กพิการ

       เด็กพิการมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความผิดปกติในครรภ์ โครโมโซมผิดปกติ อุบัติเหตุ หรือเป็นโรคที่นำมาซึ่งความพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปี 2534 แบ่งความพิการเป็น 5 ประเภท คือ ความพิการในด้าน

1. การมองเห็น
2. การได้ยินหรือการสื่อความหมาย
3. ร่างกายหรือการเคลื่อนไหว
4. จิตใจหรือพฤติกรรม
5. สติปัญญาหรือการเรียนรู้ ( Learning Disabilities )

       ลักษณะความพิการแต่ละอย่างมีผลกระทบต่อเด็กที่แตกต่างกัน การดูแลเด็กกลุ่มนี้ต้องดูแลทั้งทางด้านร่างกายที่พิการ ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาได้ตามศักยภาพและด้านจิตใจให้เด็กมีความรู้สึกได้รับความรัก การยอมรับ และยอมรับตนเองได้อย่างที่เป็น โดยการช่วยเหลือร่วมกันของพ่อแม่ โรงเรียน และสังคม

แนวทางดูและเด็กพิการ
  1.  พ่อแม่มีความรู้ เข้าใจข้อจำกัดและยอมรับโรคที่เด็กเป็น โดยอาศัยความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยประคับประคองจนพ่อแม่เกิดความเข้าใจ 
  2.  ทราบข้อมูลรายละเอียดในแนวทางการให้ความช่วยเหลือ มีสถานที่ที่จะส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กอย่างเหมาะสม เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ การดูแลแผลกดทับ การฝึกสัมผัส การฝึกพูด การสอนการสื่อสาร การฝึกการเคลื่อนไหว การฝึกการสัมผัสแบบต่าง ๆ การฝึกการสื่อสารและสัมพันธ์กับคน การฝึกการดูแลตนเองในกิจวัตรประจำวัน และการฝึกการสังเกต คิด และแก้ปัญหา รวมถึงความรู้ที่จะเข้าถึงบริการด้านการต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานฝึกอาชีพ ฯลฯ 
  3.  เข้าใจพัฒนาการของเด็กปกติ รู้ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านว่าถ้าขาดการฝึกฝนจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นด้วย เช่น เด็กที่ขยับแขนขาไม่ได้ อาจไม่ได้สำรวจสิ่งแวดล้อม และทำให้สมองพัฒนาการล่าช้าได้ 
  4. เรียนรู้ผลกระทบของความพิการต่ออารมณ์ จิตใจของเด็ก และรู้วิธีป้องกันมิให้เกิดปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมที่ติดตามมา

เทคนิคในการดูแลเด็กพิการ

  1. อดทนฝึกฝน จากงานที่ง่ายไปสู่งานที่ยากและซับซ้อน และช่างสังเกต 
  2. สม่ำเสมอ และฝึกฝนเป็นขั้นตอน ไม่กลับไปกลับมา 
  3. ใช้หลายวิธี คิดหาวิธีการต่าง ๆ ไม่ซ้ำซากน่าเบื่อ 
  4.  หมั่นพูดคุย แสดงความชื่นชมเด็ก 
  5. ใช้เวลากับเด็กอย่างมีความสุข เช่น เล่นสนุกกับเด็ก ไม่ควรเคร่งเครียดตลอดเวลา 
  6. ให้เด็กช่วยตัวเองมากที่สุดเท่าทีเป็นไปได้ ไม่ปกป้องเด็กจนเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่ตั้งความหวังสูงจนเด็กท้อถอย 
  7. มั่นใจในตนเอง ดูแลเด็กด้วยความรักเอาใจใส่
เด็กพิการมักจะถูกทอดทิ้ง ละเลย ได้ง่ายจากพ่อแม่ หลายรายที่พ่อแม่ทำใจไม่ได้ ต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกันและเป็นจุดขึ้นต้นของความแตกร้าวในครอบครัว พ่อแม่บางคนที่รักและช่วยเหลือลูกที่พิการจนละเลยลูกที่ปกติ ดังนั้น การให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัวจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแก่ครอบครัวที่มีลูกพิการจะเป็นการป้องกันปัญหาที่ซับซ้อนตามมาได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น